ยกระดับ Demand Forecasting ด้วย AI ได้อย่างไรบ้าง?
อัพเดทล่าสุด: 6 ก.พ. 2025
192 ผู้เข้าชม
Demand Forecasting ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะต้องมีความแม่นยำแล้ว ยังต้องมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับและรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนเร็วขึ้นไปพร้อม ๆ กันได้
และเทคโนโลยีเอไอ ได้ก้าวเข้ามาเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับ Demand Forecasting ยุคใหม่ โดยผลสำรวจจาก McKinsey เปิดเผยว่าการนำ AI มาใช้ในการทำ Demand Forecasting เพื่อจัดการระบบ Supply Chain นั้น ช่วยลดความผิดพลาดได้ 20-50 เปอร์เซ็นต์ นำไปสู่การลดการเสียโอกาสในการขายและการที่สินค้าขาดสต๊อกได้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์
Demand forecasting คืออะไร?
ในโลกของข้อมูลนั้น การคาดการณ์ (Forecasting) คือการนำข้อมูลหรือผลลัพธ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) เพื่อหารูปแบบที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการคาดการณ์เรื่องใดก็ได้ที่เรามีข้อมูล เช่น การคาดการณ์ยอดขาย การคาดการณ์สินค้าคงคลัง การคาดการณ์การจราจรในเส้นทางการขนส่งสินค้า
Demand Forecasting จึงเป็นการคาดการณ์ความต้องการ (Demand) ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการใด ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนระบบ Supply Chain เตรียมวัตถุดิบ จัดการ Inventory รวมถึงจัดสรรพนักงานภายในร้าน เพื่อให้พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการนำผลการคาดการณ์มาปรับปรุงสินค้าและบริการ หรือพัฒนาสินค้าบริการใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ให้ธุรกิจ
ในโลกของข้อมูลนั้น การคาดการณ์ (Forecasting) คือการนำข้อมูลหรือผลลัพธ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) เพื่อหารูปแบบที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการคาดการณ์เรื่องใดก็ได้ที่เรามีข้อมูล เช่น การคาดการณ์ยอดขาย การคาดการณ์สินค้าคงคลัง การคาดการณ์การจราจรในเส้นทางการขนส่งสินค้า
Demand Forecasting จึงเป็นการคาดการณ์ความต้องการ (Demand) ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการใด ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนระบบ Supply Chain เตรียมวัตถุดิบ จัดการ Inventory รวมถึงจัดสรรพนักงานภายในร้าน เพื่อให้พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการนำผลการคาดการณ์มาปรับปรุงสินค้าและบริการ หรือพัฒนาสินค้าบริการใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ให้ธุรกิจ
ปัญหาของ Demand Forecasting ในปัจจุบัน
การทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิมโดยไม่ใช้เอไอนั้น ต้องอาศัยแรงงานบุคลากรในการเก็บข้อมูล อัปเดตข้อมูล และทำการวิเคราะห์คาดการณ์ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
การทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิมโดยไม่ใช้เอไอนั้น ต้องอาศัยแรงงานบุคลากรในการเก็บข้อมูล อัปเดตข้อมูล และทำการวิเคราะห์คาดการณ์ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
1. ความผันผวนของตลาดทำให้คาดการณ์ได้ไม่แม่นยำ
อุตสาหกรรมค้าปลีกและร้านอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนสูงมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากปัจจัยภายนอก เช่น เทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา การพัฒนาของคู่แข่ง โปรโมชันและกลยุทธ์ใหม่ ๆ และความต้องการตามฤดูกาล ซึ่งทำให้การคาดการณ์ความต้องการแบบแมนนวล (Manual) โดยอิงจากข้อมูลในอดีตเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมร้านอาหารที่ความสดใหม่ของวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องจัดการกับวัตถุดิบหลากหลายที่มีอายุจำกัดแตกต่างกัน และต้องอาศัยการดูแลที่แตกต่างกัน การคาดการณ์ที่แม่นยำจึงเป็นเรื่องจำเป็น
อุตสาหกรรมค้าปลีกและร้านอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนสูงมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากปัจจัยภายนอก เช่น เทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา การพัฒนาของคู่แข่ง โปรโมชันและกลยุทธ์ใหม่ ๆ และความต้องการตามฤดูกาล ซึ่งทำให้การคาดการณ์ความต้องการแบบแมนนวล (Manual) โดยอิงจากข้อมูลในอดีตเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมร้านอาหารที่ความสดใหม่ของวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องจัดการกับวัตถุดิบหลากหลายที่มีอายุจำกัดแตกต่างกัน และต้องอาศัยการดูแลที่แตกต่างกัน การคาดการณ์ที่แม่นยำจึงเป็นเรื่องจำเป็น
2. ข้อมูลที่มีเป็นข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ
การมีข้อมูลจำนวนมากไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าเราจะสามารถทำการคาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น หากข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ ยิ่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกที่มีข้อมูลไหลเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่ได้รับการจัดระเบียบให้ดีก่อนนำมาวิเคราะห์และทำ Demand Forecasting ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่มีคุณภาพตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มงานให้บุคลากร โดยผลสำรวจจาก Gartner เปิดเผยว่าบุคลากรในธุรกิจร้านอาหารต้องมาตรวจดูและแก้ไขคำสั่งซื้อวัตถุดิบกว่า 30-60 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลมาจากการคาดการณ์ที่ไม่มีคุณภาพพอ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติได้แบบเต็มตัว
3. วิเคราะห์ไม่ครอบคลุม
การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทุกปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของลูกค้าต่อสินค้าทุกประเภท (SKU) ในทุกสาขา ซึ่งนับเป็นข้อมูลจำนวนมหาศาล ความสามารถของมนุษย์อาจไม่เพียงพอที่จะระบุทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องและนำข้อมูลทุกอย่างมาวิเคราะห์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากความละเอียดและปริมาณของข้อมูลเกินขอบเขตความสามารถของเรา
การมีข้อมูลจำนวนมากไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าเราจะสามารถทำการคาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น หากข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ ยิ่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกที่มีข้อมูลไหลเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่ได้รับการจัดระเบียบให้ดีก่อนนำมาวิเคราะห์และทำ Demand Forecasting ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่มีคุณภาพตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มงานให้บุคลากร โดยผลสำรวจจาก Gartner เปิดเผยว่าบุคลากรในธุรกิจร้านอาหารต้องมาตรวจดูและแก้ไขคำสั่งซื้อวัตถุดิบกว่า 30-60 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลมาจากการคาดการณ์ที่ไม่มีคุณภาพพอ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติได้แบบเต็มตัว
3. วิเคราะห์ไม่ครอบคลุม
การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทุกปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของลูกค้าต่อสินค้าทุกประเภท (SKU) ในทุกสาขา ซึ่งนับเป็นข้อมูลจำนวนมหาศาล ความสามารถของมนุษย์อาจไม่เพียงพอที่จะระบุทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องและนำข้อมูลทุกอย่างมาวิเคราะห์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากความละเอียดและปริมาณของข้อมูลเกินขอบเขตความสามารถของเรา
เทคโนโลยีเอไอช่วยพัฒนา Demand Forecasting ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
1. เพิ่มความแม่นยำให้ Demand Forecasting
การนำเอไอเข้ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำให้การคาดการณ์ ทำได้โดยการใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่มีผลกระทบกับการคาดการณ์ ทั้งข้อมูลเทรนด์ใหม่ ๆ สภาพแวดล้อมในแต่ละสาขา สภาพอากาศ ยอดขาย และอื่น ๆ โดยอาศัยความสามารถของแมชชีนเลิร์นนิงที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องของทุกสินค้าในแต่ละประเภทย่อยระดับ SKU ได้อย่างแม่นยำ และสามารถทำงานกับข้อมูลมหาศาล ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมครบถ้วน
โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงยังสามารถอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ตามทันทุกความเปลี่ยนแปลง และสามารถจัดการระบบ Supply Chain ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อวางแผนเรื่องวัตถุดิบ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นของสด และมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่จำกัดและการดูแลที่แตกต่างกันได้
2. เปลี่ยน Demand Forecasting ให้ใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง
เอไอสามารถเข้ามาทำแทนมนุษย์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ได้ ทำให้เราสามารถทำ Demand Forecasting แบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องมีแรงงานคนมาเกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือเราสามารถใช้เอไอมาช่วยนำเข้าและจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม พร้อมสำหรับการวิเคราะห์อย่างแม่นยำ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
การทำ Demand Forecasting ด้วยระบบอัตโนมัติ ยังช่วยให้ธุรกิจมีทรัพยากรเวลาและบุคลากรเพิ่มมากขึ้น สามารถโยกย้ายทรัพยากรที่เคยต้องใช้กับการทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิมไปมุ่งกับการทำงานส่วนอื่น ๆ ที่สร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้มากขึ้นอีก
การนำเอไอเข้ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำให้การคาดการณ์ ทำได้โดยการใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่มีผลกระทบกับการคาดการณ์ ทั้งข้อมูลเทรนด์ใหม่ ๆ สภาพแวดล้อมในแต่ละสาขา สภาพอากาศ ยอดขาย และอื่น ๆ โดยอาศัยความสามารถของแมชชีนเลิร์นนิงที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องของทุกสินค้าในแต่ละประเภทย่อยระดับ SKU ได้อย่างแม่นยำ และสามารถทำงานกับข้อมูลมหาศาล ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมครบถ้วน
โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงยังสามารถอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ตามทันทุกความเปลี่ยนแปลง และสามารถจัดการระบบ Supply Chain ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อวางแผนเรื่องวัตถุดิบ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นของสด และมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่จำกัดและการดูแลที่แตกต่างกันได้
2. เปลี่ยน Demand Forecasting ให้ใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง
เอไอสามารถเข้ามาทำแทนมนุษย์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ได้ ทำให้เราสามารถทำ Demand Forecasting แบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องมีแรงงานคนมาเกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือเราสามารถใช้เอไอมาช่วยนำเข้าและจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม พร้อมสำหรับการวิเคราะห์อย่างแม่นยำ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
การทำ Demand Forecasting ด้วยระบบอัตโนมัติ ยังช่วยให้ธุรกิจมีทรัพยากรเวลาและบุคลากรเพิ่มมากขึ้น สามารถโยกย้ายทรัพยากรที่เคยต้องใช้กับการทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิมไปมุ่งกับการทำงานส่วนอื่น ๆ ที่สร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้มากขึ้นอีก
3. ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจวางกลยุทธ์จาก Demand Forecasting ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการทำ Demand Forecasting ที่มีคุณภาพนั้น คือการเอาผลการคาดการณ์ที่ได้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เอไอมาช่วยทำ Demand Forecasting จะทำให้เราสามารถหาข้อมูลเชิงลึกที่ละเอียดขึ้นได้ ทำให้ธุรกิจมีข้อมูลสำคัญในการนำไปตัดสินใจวางแผน Supply Chain ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วขึ้นได้
4. พร้อมรองรับการขยายตัวของธุรกิจ (Scalability)
เมื่อธุรกิจขยายตัว เช่น ร้านอาหารมีสาขามากขึ้น ข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์ก็เพิ่มมากขึ้นจนเกินความสามารถของการทำ Demand Forecasting แบบแมนนวล ทำให้รองรับการเติบโตของธุรกิจไม่ทัน การใช้เอไอที่สามารถทำงานกับข้อมูลมหาศาลได้มาช่วยทำ Demand Forecasting จะรับมือกับการขยายตัวของธุรกิจและการเพิ่มขึ้นของข้อมูลได้ดีกว่า และยั่งยืนกว่าในระยะยาว
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการทำ Demand Forecasting ที่มีคุณภาพนั้น คือการเอาผลการคาดการณ์ที่ได้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เอไอมาช่วยทำ Demand Forecasting จะทำให้เราสามารถหาข้อมูลเชิงลึกที่ละเอียดขึ้นได้ ทำให้ธุรกิจมีข้อมูลสำคัญในการนำไปตัดสินใจวางแผน Supply Chain ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วขึ้นได้
4. พร้อมรองรับการขยายตัวของธุรกิจ (Scalability)
เมื่อธุรกิจขยายตัว เช่น ร้านอาหารมีสาขามากขึ้น ข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์ก็เพิ่มมากขึ้นจนเกินความสามารถของการทำ Demand Forecasting แบบแมนนวล ทำให้รองรับการเติบโตของธุรกิจไม่ทัน การใช้เอไอที่สามารถทำงานกับข้อมูลมหาศาลได้มาช่วยทำ Demand Forecasting จะรับมือกับการขยายตัวของธุรกิจและการเพิ่มขึ้นของข้อมูลได้ดีกว่า และยั่งยืนกว่าในระยะยาว
ประโยชน์จากการใช้เอไอกับ Demand Forecasting
-จัดการระบบ Supply Chain และ Inventory ได้ดีกว่าเดิม วางแผนจัดสรรวัตถุดิบและจำนวนพนักงานในแต่ละวันได้แม่นยำขึ้น และมีสินค้าพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อลดการเสียโอกาสในการขาย และเพิ่มยอดขายและกำไรได้มากกว่าเดิม
-ลดต้นทุนจากการวางแผนที่ไม่แม่นยำ ป้องกันการสั่งสินค้ามากจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียต้นทุนจากวัตถุดิบค้างสต๊อก รวมถึงลดต้นทุนเวลาและทรัพยากรของบุคลากรที่เคยต้องทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิม
-วางกลยุทธ์ได้ตอบโจทย์กว่าเดิม เพราะเมื่อรู้ความต้องการของลูกค้าแล้ว ก็สามารถตั้งราคาสินค้า ออกแบบโปรโมชัน ให้สอดคล้องกับความต้องการได้
เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า จากการมีสินค้าที่ตอบโจทย์พร้อมบริการอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
-ลดต้นทุนจากการวางแผนที่ไม่แม่นยำ ป้องกันการสั่งสินค้ามากจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียต้นทุนจากวัตถุดิบค้างสต๊อก รวมถึงลดต้นทุนเวลาและทรัพยากรของบุคลากรที่เคยต้องทำ Demand Forecasting แบบดั้งเดิม
-วางกลยุทธ์ได้ตอบโจทย์กว่าเดิม เพราะเมื่อรู้ความต้องการของลูกค้าแล้ว ก็สามารถตั้งราคาสินค้า ออกแบบโปรโมชัน ให้สอดคล้องกับความต้องการได้
เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า จากการมีสินค้าที่ตอบโจทย์พร้อมบริการอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
BY : Jim
ที่มา : https://www.sertiscorp.com/th/post/how-can-ai-improve-demand-forecasting
บทความที่เกี่ยวข้อง
อัปเดตแนวโน้ม AI ด้านวิดีโอปี 2025 รวมเทคโนโลยีมาแรง การใช้งานจริงในวงการคอนเทนต์ การตลาด และการสร้างคลิปอัตโนมัติ พร้อมโอกาสใหม่สำหรับครีเอเตอร์
17 พ.ค. 2025
รวมคำสั่ง (Prompt) ใช้ ChatGPT สร้างคอนเทนต์วิดีโอได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสคริปต์ คลิป TikTok, YouTube Shorts หรือคำอธิบายคลิป ใช้งานได้จริงสำหรับครีเอเตอร์ทุกคน
17 พ.ค. 2025
ค้นหาเครื่องมือ AI ตัดต่อวิดีโอที่ดีที่สุดในปี 2025 ทั้งฟรีและเสียเงิน ช่วยสร้างคลิป TikTok, Reels, YouTube Shorts ได้ในไม่กี่นาที
17 พ.ค. 2025