แชร์

Artificial intelligence (AI) คืออะไร ? เครื่องมือไหนบ้างที่ใช้

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 16 ม.ค. 2025
832 ผู้เข้าชม

Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ และกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดย AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ และประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ ระบบ AI จะมีความสามารถในการสร้างความเข้าใจในการประมวลผลข้อมูล ออกแบบ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และสามารถคำนวณวิเคราะห์ข้อมูล และทำเลือกตัดสินใจได้เหมือนมนุษย์

Artificial intelligence (AI) คืออะไร ?
AI (Artificial intelligence) คือ เทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากข้อมูล (Machine Learning) เพื่อสร้างโมเดลที่สามารถทำนายผลลัพธ์จากข้อมูลต้นฉบับได้อย่างแม่นยำ โดยใช้วิธีการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ประเภทของ Artificial intelligence (AI) มีอะไรบ้าง ?

รูปภาพจาก Wikipedia.org
1. Machine Learning (ML) 
โมเดลทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ และปรับปรุงความแม่นยำได้ด้วยตนเองจากข้อมูลที่มนุษย์ใส่ข้อมูล

2. Deep Learning 
รูปแบบของ AI ที่ใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) เพื่อเรียนรู้ และสร้างโมเดลการจำแนกหรือการทำนายที่มีความซับซ้อน

3. Natural Language Processing (NLP) 
การประมวลผลภาษาของมนุษย์ เพื่อเข้าใจความหมาย และแปลความหมายเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้

4. Robotics 
ระบบ AI ที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานต่างๆ เช่น งานอุตสาหกรรม การแพทย์ และการบริการ

5. Computer Vision 
การประมวลผลภาพ และวิดีโอเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ แยกแยะวัตถุ รูปร่าง และคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาพนั้น


จุดประสงค์ของการใช้งาน AI คืออะไร?
จุดประสงค์ของการใช้ AI คือ การช่วยให้มนุษย์สามารถตัดสินใจสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ด้วยข้อมูลที่มาจากการสกัดของ AI สามารถช่วยให้มนุษย์เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญสามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานลดน้อยลง รวมถึงงานไหนที่เสี่ยงต่อความอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างตึก การทำการตลาดด้วย AI หรือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ของมนุษย์ AI สามารถช่วยเหลือได้ ในปี 2023 มนุษย์ทั่วโลกได้หันมาใช้ AI มากยิ่งขึ้น โดยอุตสหกรรมที่มีการพูดถึงและนำ AI มาใช้ คือ การตลาด เนื่องจาก AI สามารถลดความเลื่อมล่ำในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ และช่วยประหยัดเวลาให้มนุษย์มีเวลาในการทำงานอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในเชิงพาณิชย์นี้ ก็อาจต้องมีการพัฒนา วิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับงานที่มนุษย์เลือกให้ AI ทำ

ประโยชน์ของ AI มีอะไรบ้าง ?
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน AI ได้ทําลายขอบเขตของการทํางาน และหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งทําให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้น โดย AI นั้นเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยอํานวยความสะดวกในการทํางานของเครื่องจักรได้อย่างราบรื่น และทํางานที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ได้ จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่สําหรับการพัฒนา และความคืบหน้าของยุคต่อไป ซึ่งนําไปสู่ระบบอัตโนมัติแบบ end-to-end และการประสานงานของการดําเนินงานที่ซับซ้อนต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดของมนุษย์

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระบบ AI สามารถเปลี่ยนอุตสาหกรรมต่าง ๆได้โดยมีข้อดีหลายอย่างดังต่อไปนี้

ลดความผิดพลาดของมนุษย์

    หากตั้งโปรแกรมถูกต้อง AI จะทำงานไม่ผิดพลาด

    โมเดล AI ถูกสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ การคาดการณ์ดังนั้นจึงไม่ทิ้งข้อผิดพลาดใด ๆ ไว้

    ช่วยประหยัดเวลา และทรัพยากร และช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


ประมวลผลข้อมูล Big Data ได้อย่างราบรื่น

    AI มีทักษะ และอัลกอริทึมทั้งหมดในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และหาข้อสรุปได้ในเวลาอันสั้น

    AI สามารถเข้าใจและดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว

การทำงาน และกระบวนการที่ซ้ำซ้อนโดยอัตโนมัติ
    AI ตระหนักถึงระบบอัตโนมัติของงานที่น่าเบื่อในชีวิตประจำวันในด้านการรวบรวมข้อมูลการป้อนข้อมูลธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางการตอบกลับทางอีเมลการทดสอบซอฟต์แวร์การสร้างใบแจ้งหนี้ และอื่น ๆ
    พนักงานมีเวลาจดจ่อกับงานที่ต้องอาศัยความสามารถของคนมากขึ้น
ดําเนินงานที่มีความเสี่ยงและเป็นอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ


    ประยุกต์ใช้ AI ในพื้นที่ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
    ระบบ AI ช่วยลดความเสี่ยงในงานที่เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์สามารถรับภารกิจที่เป็นอันตรายเช่นการทําเหมืองถ่านหินการสํารวจทางทะเลการช่วยเหลือในการปฏิบัติการกู้ภัยในภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอื่นๆ
ช่วยปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการทำงาน

    AI ช่วยให้บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้

    ช่วยในการปรับปรุงกระบวนการที่ยุ่งยากและให้กระบวนการทำงานที่ดีขึ้นโดยปราศจากข้อผิดพลาด

พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

    ระบบ AI สามารถใช้งานได้ตลอด24ชั่วโมง และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาตามต้องการ

    แตกต่างจากมนุษย์ที่ระบบ AI สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา

    ระบบ AI ได้รับการตั้งโปรแกรมให้ทํางานเป็นเวลานาน และสามารถจัดการกับงานที่ซ้ําซ้อน และน่าเบื่อได้

ตัวอย่างการใช้งานทางธุรกิจของเทคโนโลยี AI ได้แก่
1. การตลาด 
เครื่องมือของ Mandala AI สามารถเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Big Data เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการตลาด และช่วยเสริมสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความเเม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. ความบันเทิง 
YouTube, Netflix, TikTok นำข้อมูลหนังหรือคลิปวีดีโอที่ลูกค้าเข้าชมบ่อยมาปรับใช้กับระบบแนะนำภาพยนต์หรือวีดีโอ

3. การทำนาย และการตัดสินใจ 
เช่น การทำนายการตลาดในอนาคต และการตัดสินใจการลงทุน

4. การแก้ไขปัญหา 
เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

5. การทำงานอัตโนมัติ 
เช่น ตัวช่วยอย่าง Siri และ Alexa ที่สามารถรับคำสั่งจากเสียงของผู้ใช้งาน โดยทำหน้าที่ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในบ้าน ตอบคำถามต่าง ๆ รวมไปถึงสั่งของออนไลน์ได้ 

6. การตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสม 
เช่น Grammarly เป็นโปรแกรมสามารถช่วยตรวจสอบความถูกต้องของคำ และไวยากรณ์ของภาษาซึ่งเป็นตัวช่วยได้ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการเขียน Content ภาษาอังกฤษ

Machine Learning (ML) คืออะไร ? 
Machine Learning คือ การใช้วิธีการเรียนรู้ของ AI โดยที่ AI จะสามารถเรียนรู้โดยมีการใส่ข้อมูลที่มนุษย์ต้องการที่จะสอนหรือที่เรียกกันว่า Training AI โดยให้โมเดล (model) ได้เรียนรู้จากชุดข้อมูล (data) และสามารถนำไปใช้งานกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่ได้ถูกใช้ในการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ได้ หลาย ๆ คนคงเคยสังเกตุว่า ทำไม Facebook ถึงรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องสินค้าอะไร, YouTube รู้ได้อย่างไรว่าเราชอบคอนเทนต์วีดีโอประมาณไหน, Instagram รู้ได้อย่างไรว่าเราชอบรูปภาพไหน ทั้งหมดล้วนมาจากการเรียนรู้ของ AI หรือเรียกว่า Machine Learning นั้นเอง ต่อไปเราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับว่า Machine Learning นั้นมีกี่ประเภท

Machine Learning มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท 
1. การเรียนรู้โดยมี Data มาสอน (Supervised Learning) ซึ่งจะมีการให้ข้อมูลตัวอย่าง และผลลัพธ์ของข้อมูลตัวอย่างเพื่อให้โมเดลสามารถเรียนรู้จากข้อมูลตัวอย่างได้ 

2. การเรียนรู้โดยไม่มี Data มาสอน (Unsupervised Learning) ซึ่งไม่มีการให้ผลลัพธ์ของข้อมูลตัวอย่าง และโมเดลต้องเรียนรู้จากข้อมูลเอง 

3. การเรียนรู้ตามสภาพเเวดล้อม (Reinforcement Learning) ซึ่งจะมีการให้ระบบเรียนรู้จากการรับรู้ผลลัพธ์จากการกระทำของตัวเองในสภาวะต่างๆ โดยมีการให้รางวัลหรือลดคะแนนเป็นตัวกำหนดในการแนะนำการกระทำต่อไปของระบบ.


BY : Tonkla

ที่มา : mandalasystem.com

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้ม AI Video ปี 2025
อัปเดตแนวโน้ม AI ด้านวิดีโอปี 2025 รวมเทคโนโลยีมาแรง การใช้งานจริงในวงการคอนเทนต์ การตลาด และการสร้างคลิปอัตโนมัติ พร้อมโอกาสใหม่สำหรับครีเอเตอร์
ร่วมมือ.jpg เหมาคัน
17 พ.ค. 2025
10 คำสั่ง ChatGPT สำหรับครีเอเตอร์สายวิดีโอ ที่ใช้งานได้จริง
รวมคำสั่ง (Prompt) ใช้ ChatGPT สร้างคอนเทนต์วิดีโอได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสคริปต์ คลิป TikTok, YouTube Shorts หรือคำอธิบายคลิป ใช้งานได้จริงสำหรับครีเอเตอร์ทุกคน
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
17 พ.ค. 2025
แนะนำ 5 เครื่องมือ AI ทำวิดีโอที่ดีที่สุดในปี 2025
ค้นหาเครื่องมือ AI ตัดต่อวิดีโอที่ดีที่สุดในปี 2025 ทั้งฟรีและเสียเงิน ช่วยสร้างคลิป TikTok, Reels, YouTube Shorts ได้ในไม่กี่นาที
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
17 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ