แชร์

รู้จักหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหุ้นไทย

อัพเดทล่าสุด: 23 ก.ย. 2024
57 ผู้เข้าชม
รู้จักหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหุ้นไทย

รู้จักหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหุ้นไทย

   ลักษณะของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ คือ ผู้ทำหน้าที่บริหารการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ตั้งแต่วัตถุดิบการผลิต สินค้าสำเร็จรูป และผู้คน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่มีโมเดลธุรกิจค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่จุดที่แตกต่างจะเป็นเรื่องของกลุ่มลูกค้า และรูปแบบการให้บริการ ดังนั้น จึงจัดกลุ่มหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็น 5 ประเภท เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

 1.หุ้นกลุ่มสายการบินและสนามบิน

 เช่น หุ้น AAV, AOT, BA, BAREIT, THAI*, NOK*
  เป็นการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ ผู้บริหารจัดการสนามบิน และผู้ให้บริการสายการบินทั้งเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศ ครอบคลุมทั้งกลุ่มขนส่งผู้โดยสาร (Passenger carriers) และกลุ่มขนส่งสินค้า (Cargo services carriers) ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะเป็นการขนส่งที่มีข้อได้เปรียบด้านความรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง แต่มีจุดด้อยในเรื่องค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่สูง และต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อรองรับระบบขนส่ง
*อยู่ระหว่างหยุดพักการซื้อขาย เนื่องจากบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนหลักทรัพย์

 

2.หุ้นกลุ่มรถไฟฟ้าและทางด่วน

เช่น หุ้น BEM, BTS, BTSGIF**, DMT, TFFIF**
  ธุรกิจหลักคือการให้บริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และการให้บริการทางพิเศษ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นให้บริการผู้อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางสิ่งที่เหมือนกันของธุรกิจรถไฟฟ้าและทางด่วน ก็คือจะต้องได้รับสัมปทานจากภาครัฐ และจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ระยะเวลาคืนทุนนาน ทำให้การดำเนินธุรกิจนี้มักจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีทั้งรูปแบบการลงทุนร่วมกัน (Public Private Partnership: PPP) และรูปแบบที่รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดแล้วว่าจ้างเอกชนบริหารงาน (Public Sector Comparator: PSC)
** BTSGIF และ TFFIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)

 
3.หุ้นกลุ่มเดินเรือและท่าเทียบเรือ

 เช่น หุ้น AMA, ASIMAR, III, PRM, PSL, RCL, TTA, VL, PORT, NYT, TSTE

    ผู้ให้บริการขนส่งทางน้ำหรือธุรกิจเดินเรือ แบ่งได้เป็นหลายประเภท ได้แก่

1.) เรือเทกอง คือ เรือที่ใช้ขนส่งสินค้า สินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมาก เช่น แร่, ถ่านหิน, เหล็ก, สินค้าเกษตร

2.) เรือคอนเทนเนอร์ คือ เรือที่ใช้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ มักเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุปโภคบริโภค

3.) เรือขนส่งน้ำมันดิบและปิโตรเคมีเหลว

4.) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ เช่น ต่อเรือ, ซ่อมเรือ, ให้บริการเช่าเรือขนส่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงธุรกิจท่าเทียบเรือที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาอีกด้วย

 
4.หุ้นกลุ่มบริการโลจิสติกส์

   เช่น หุ้น B, JWD, KEX, KIAT, KWC, LEO, MENA, NCL, NYT, SONIC, WICE
ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics) ประกอบด้วย ธุรกิจท่าเทียบเรือ ให้เช่าคลังสินค้า บริการด้านพิธีการกรมศุลกากร การขนส่งในประเทศ การขนส่งข้ามแดน รวมไปถึงผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วนแบบครบวงจร ได้แก่ สินค้าที่สั่งซื้อผ่าน E-Commerce พัสดุระหว่างบุคคล และเอกสารของบริษัทต่าง ๆ

 
5.หุ้นกลุ่มบริการขนส่งคนทางบกและทางน้ำ

   เช่น หุ้น ATP30, RP 
บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งคน ปัจจุบันในตลาดหุ้นไทยประกอบด้วยผู้ให้บริการขนส่งทางบก ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ผ่านรถบัส รถมินิบัส รถตู้ และรถตู้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มจะเป็นการขนส่งทางน้ำ โดยให้บริการเรือข้ามฟากเพื่อโดยสารไปยังหมู่เกาะต่าง ๆ

BY:FAH

ที่มา:setinvestnow

บทความที่เกี่ยวข้อง
WooCommerce
WooCommerce เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดการร้านค้าออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย
10 ต.ค. 2024
ระบบขนส่งพัสดุ Skybox
เป็นบริการที่มีความสำคัญในการตอบสนองความต้องการของตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การซื้อขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว
10 ต.ค. 2024
เรือไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อน
เรือไฟฟ้าเป็นเรือที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อน แทนที่จะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันหรือน้ำมันดีเซล
8 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ