แชร์

หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories)

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
2728 ผู้เข้าชม

สินค้าคงคลัง หรือ Inventory คืออะไร ?

สินค้าคงคลัง หรือ Inventory คือ สินค้าคงเหลือในโกดังหรือคลังจัดเก็บสินค้าที่หลายๆ ธุรกิจมีสำรองเอาไว้เพื่อใช้งาน เพื่อการบริหาร เพื่อการผลิต เพื่อการจัดจำหน่ายในอนาคต หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การดูแล วางแผน และจัดการสินค้าที่ยังไม่ได้ขายในตอนนี้นั้นเอง โดยธุรกิจต้องมีการจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือหรือสินค้าคงคลังด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในการวางแผนธุรกิจทำให้สามารถดำเนินกิจการต่างไปได้อย่างมีความราบรื่น นอกจากนี้สินค้าคงคลังก็ยังได้ผ่านการวางแผน มีการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสมมาแล้วด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของสินค้าคงคลังนั้น ถูกจำแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น

  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผ่าน (Transit Inventories) หรือวัสดุแบบวัตถุดิบคงคลังในท่อ (Pipeline Inventory) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำลังอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง 
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังไว้ป้องกัน (Buffer Inventories) หรืออีกชื่อก็คือ วัตถุดิบในระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ ซึ่งวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะมีระดับใช้เป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดำเนินงานนั้นมีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยป้องกันปัญหาสินค้าที่ขาดมือ (Stock out) และสั่งซื้อกลับ (Backorder)
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้า (Anticipation Invertories) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์ เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือ ความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling Inventories) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่จะช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างรวบรื่นในอัตราคงที่
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle Inventories) หรือวัสดุ วัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อ (Lot-size Inventory) เป็นปริมาณหรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อเป็นการให้ต้นทุนของการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังต่ำที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังธุรกิจ และในทางปฏิบัติของธุรกิจต่างๆนั้น
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีพิเศษต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการดำเนินงานทั้งกรณีที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากปกติ 
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บสำรอง ไว้กรณีที่ความต้องการของลูกค้าหรือการจัดส่งวัสดุหรือสินค้าจะ Supplier มีความไม่แน่นอน
  • การมีวัสดุคงคลังเนื่องจากผลิตหรือสั่งซื้อแบบเต็ม Lot เพื่อรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่ เพื่อให้ได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจำนวนมากๆ ต่อครั้ง
  • การมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต

สินค้าคงคลัง มีความสำคัญอย่างไร

สินค้าคงคลัง นั้นเรียกได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ และการสร้างความสมดุลให้กับ Supply Chain ของธุรกิจ เพื่อทำให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังในระดับที่ต่ำสุด แบบไม่กระทบต่อการบริหารงาน สินค้าคงคลังก็ยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิต รวมถึงการจัดเก็บสินค้าคงคลังก็ยังช่วยให้ธุรกิจมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอีกด้วย 


ที่มา : packhai at-once


บทความที่เกี่ยวข้อง
ขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์พัสดุด้วยข้อมูล: ระบบหลังบ้านอัจฉริยะของ BS Express ทำงานอย่างไร?
การแข่งขันในธุรกิจขนส่งพัสดุก็ทวีความเข้มข้นขึ้นเป็นเงาตามตัว การเปิดแฟรนไชส์พัสดุไม่ได้วัดความสำเร็จกันที่จำนวนสาขาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
ฟ่าง (นักศึกษาฝึกงาน)
19 ก.ค. 2025
ระบบจัดการคลังรู้ใจ
ปลดล็อกธุรกิจให้โตไว ด้วย ‘ระบบจัดการคลังรู้ใจ’ บริการครบวงจรจาก BS Group คุณเป็นคนหนึ่งที่ทำธุรกิจออนไลน์แล้วเจอปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่ไหม? สต็อกสินค้าล้นบ้าน, ไม่มีเวลาแพ็กของ, ส่งของผิดพลาดจนลูกค้าตำหนิ หรือแม้กระทั่งอยากขยายตลาดไปต่างประเทศแต่ก็ติดเรื่องความยุ่งยากของขั้นตอนการขนส่ง
หมี (นักศึกษาฝึกงาน)
19 ก.ค. 2025
คลังสินค้าที่ดีควรเป็นอย่างไร ?
ในโลกที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในแวดวง E-commerce และการขนส่ง คำว่า "คลังสินค้า" (Warehouse) ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่สถานที่สำหรับเก็บสต็อกสินค้าอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์และเป็นหัวใจสำคัญที่ชี้วัดประสิทธิภาพและความสำเร็จของธุรกิจ
โก้(นักศึกษาฝึกงาน)
19 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ