แชร์

7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สะท้อนศักยภาพองค์กร

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
อัพเดทล่าสุด: 5 ก.พ. 2025
311 ผู้เข้าชม

การพัฒนาแอปพลิเคชัน คืออะไร?
การพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ กระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ สร้าง เผยแพร่ ไปจนถึงติดตามผลการทำงานของแอปพลิเคชัน ซึ่งแอปพลิเคชันเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งสมาร์ตวอทช์
การพัฒนาแอปพลิเคชัน สําคัญอย่างไร?


การพัฒนาแอปพลิเคชันมีประโยชน์หลายประการ แต่อาจมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งาน และจุดประสงค์ในการพัฒนา อาทิ
1. ยกระดับบริการออนไลน์
สำหรับองค์กรที่นำเสนอบริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อยู่แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันจะช่วยให้ผู้ใช้บริการบนสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตมีประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น เพราะแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาจะทำให้ระบบปฏิบัติการเฉพาะจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ที่ออกแบบมาสำหรับทุกระบบปฏิบัติการ ซึ่งต้องเข้าถึงผ่านเบราว์เซอร์
2. สร้างฟีเจอร์ใหม่
แอปพลิเคชันสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง เช่น กล้อง เซนเซอร์ และอื่นๆ ซึ่งองค์กร ใช้ประโยชน์นี้ในการออกแบบฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่มีเฉพาะบนแอปพลิเคชันได้ ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้า ฟีเจอร์ตรวจจับจำนวนครั้งในการเดิน และอีกมากมาย
3. เพิ่มช่องทางการสื่อสาร
องค์กรสามารถใช้แอปพลิเคชันเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน ทั้งในรูปแบบป้ายประกาศ การแจ้งเตือน หรือข้อความอัตโนมัติ เป็นต้น
4. เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งาน
ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการหรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้สะดวกผ่านแอปพลิเคชัน เพราะอุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่สามารถพกพาได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
5. ไม่จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตเสมอไป
หลายแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต ในขณะที่การเข้าใช้งานเว็บไซต์จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลดหน้าเว็บอยู่เสมอ

ยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน SCB EASY ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาเสมอไป
รู้จัก 7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน
การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนแรกของการพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ การวิเคราะห์ความต้องการตลาดและคู่แข่ง แล้วจึงนำมากำหนดกลยุทธ์ เช่น ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันจองห้องพักมีความต้องการจองบริการรถรับ-ส่งร่วมด้วย แต่คู่แข่งยังไม่มีฟีเจอร์ให้จองบริการรถรับ-ส่ง
2. วางแผนการพัฒนา
การพัฒนาแอปพลิเคชันใช้เวลาประมาณ 2 18 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาด และความซับซ้อนของแอปพลิเคชัน หากไม่มีการวางแผนพัฒนาอย่างรัดกุมอาจทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าที่ควร และใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3. ออกแบบ UX/UI
ขั้นตอนของการออกแบบแอปพลิเคชัน จะต้องมี UX (User Experience) ที่ทำให้แอปพลิเคชัน ใช้งานง่ายอย่างต่อเนื่องแบบไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพภายใต้ UI (User Interface) ที่สวยงามน่าใช้
4. สร้างแอปพลิเคชัน
การสร้างแอปพลิเคชัน คือ การเขียนโค้ด (Coding) ขึ้นมาตามข้อกำหนด และแผนงานที่ได้วางไว้ โดยนักพัฒนาอาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโค้ดที่แตกต่างกันออกไป เช่น Java เหมาะสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ในขณะที่ Swift เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS)
5. ทดสอบการทดสอบแอปพลิเคชันมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 
-ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชัน
-ทดสอบช่องโหว่ด้านความปลอดภัย
หากพบข้อบกพร่องด้านการทำงาน หรือด้านความปลอดภัย ทีมนักพัฒนาจะต้องทำการแก้ไขในทันที ก่อนที่จะเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานเริ่มต้นใช้จริง
6. เผยแพร่
เมื่อทดสอบแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว องค์กรสามารถเผยแพร่ และอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ โดยควรอาศัยกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมด้วย เช่น การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดีย การจัดกิจกรรมแจกของรางวัลให้กับผู้ดาวน์โหลด และอื่นๆ
7. ติดตามและวัดผล
การติดตาม และวัดผลจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันให้ดีขึ้นได้ โดยควรทำขั้นตอนนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออัปเดตเวอร์ชันใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
วงจรการพัฒนาแอปพลิเคชันทั้งหมดจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายตำแหน่ง ทั้งนักออกแบบ UX/UI นักพัฒนา ผู้บริหารโครงการ นักออกแบบซอฟต์แวร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถือเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลครั้งใหญ่ และมีต้นทุนสูง อีกทั้งยังมีต้นทุนด้านเครื่องมือ เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น


ดังนั้น หลายองค์กรจึงหันมาใช้บริการพัฒนาแอปพลิเคชันกับผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือแทน เพราะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่า โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่ได้ทำเงินจากการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลัก แต่จำเป็นต้องมีแอปพลิเคชัน เพื่อขยายการเข้าถึง หรือเสริมประสบการณ์ให้กับลูกค้า เช่น หน่วยงานรัฐ ธนาคาร บริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ 
DevOps ช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างไร?
DevOps เป็นแนวคิดที่รวมการพัฒนา (Development) และการปฏิบัติการ (Operations) เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลายด้าน ดังนี้
1. ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
DevOps ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ จึงแก้ไขปัญหา และพัฒนาแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น
2. ส่งมอบงานอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการใช้เครื่องมือ Continuous Integration และ Continuous Delivery (CI/CD) ทีมจึงปรับปรุง และส่งมอบแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น และผู้ใช้เองก็ได้รับฟีเจอร์ใหม่ๆ เร็วขึ้นเช่นกัน
3. ทดสอบอัตโนมัติ
DevOps สนับสนุนการทดสอบที่เป็นอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาด และเพิ่มคุณภาพของแอปพลิเคชัน
4. จัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ด้วยแนวคิด Infrastructure as Code ทีมจึงจัดการโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอมากขึ้น
5. ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว
DevOps ช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ จึงตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
6. ปรับปรุงด้านความปลอดภัย
DevOps ยกระดับความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการพัฒนา (DevSecOps) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชันอย่างครอบคลุมรอบด้าน
7. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยการใช้เทคโนโลยีคลาวด์และการทำ Containerization นั้น DevOps ช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการพัฒนาและดำเนินการ
การนำ DevOps มาใช้ในกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของแอปพลิเคชันทั้งระบบ จึงทำให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


แนะนำสุดยอดเครื่องมือจัดการข้อมูลจาก SCB TechX
SCB TechX พร้อมให้บริการ xPlatform เพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ โดยมีแพคเกจให้เลือก 2 แบบ คือ
Professional Package
สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps Best Practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน ก็สามารถเข้าใช้งาน แบบ Shared Executor บนพื้นฐาน Ecological System ของแพลตฟอร์มได้ทันที

Enterprise Package
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม สามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น

 BY : Tonkla

ที่มา : scbtechx.io


บทความที่เกี่ยวข้อง
แฟรนไชส์ขนส่ง: โอกาสธุรกิจในยุคที่ทุกคนสั่งของออนไลน์
ทุกวันนี้แค่ปลายนิ้วสัมผัส โลกทั้งใบก็พร้อมมาส่งถึงหน้าบ้านคุณ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ หรือเสื้อผ้าจากอีกฟากของประเทศ นี่คือยุคทองของการ “สั่งของออนไลน์” อย่างแท้จริง แต่เบื้องหลังความสะดวกนั้น มีธุรกิจหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วและน่าสนใจสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ นั่นคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ
ร่วมมือ.jpg Contact Center
14 พ.ค. 2025
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notify.png พี่ปี
13 พ.ค. 2025
Opus Clip AI คืออะไร? ตัวช่วยสร้างคลิปวิดีโอสั้นอัตโนมัติที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้จัก
Opus Clip AI คืออะไร? ตัวช่วยสร้างคลิปวิดีโอสั้นอัตโนมัติที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้จัก
Notify.png พี่ปี
13 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ