แชร์

Jidoka คืออะไร? ระบบการผลิตแบบจิโดกะ

อัพเดทล่าสุด: 5 ธ.ค. 2024
1583 ผู้เข้าชม
  Jidoka คือ ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า Autonomation หรือการควบคุมโดยอัตโนมัติ เป็นวิธีที่ Toyota ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดความผิดพลาดและความสูญเสียจากกระบวนการผลิต (Waste) ด้วยการออกแบบระบบการผลิตให้หยุดเองอัตโนมัติ
 
  สำหรับ Jidoka ที่ Toyota ใช้ในกระบวนการผลิตจะช่วยลดความผิดพลาดในการผลิตด้วยการมีระบบอัตโนมัติ (Autonomation หรือ Jidoka) ที่จะหยุดกระบวนการผลิตเองอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดความผิดพลาดในการผลิต เพื่อแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการผลิตต่อไป ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย (Waste) ที่เกิดจากการผลิตที่มีข้อบกพร่อง
 
  นอกจากนี้ ในการใช้งานระบบ Jidoka อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อเกิดกระบวนการที่สร้างปัญหาใด ๆ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาประเมินถึงปัญหาในภายหลังเพื่อขจัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีก

  ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการประกอบชิ้นส่วนเกินเข้าไปในระบบ ระบบอัตโนมัติ Jidoka จะหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเข้าไปจัดการชิ้นส่วนที่เกินก่อนที่จะดำเนินการผลิตต่อ

  โดยระบบ Jidoka ที่ Toyota ใช้นั้นจะใช้เป็นสัญญาณไฟที่จะสว่างขึ้นเมื่อเกิดความผิดพลาดในการผลิตขึ้นมา เพื่อส่งสัญญาณให้พนักงานหยุดกระบวนการผลิต และพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไข
 
ประโยชน์ของระบบ Jidoka
  การใช้หลักการของ Jidoka ตลอดกระบวนการผลิตเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System หรือ TPS) จะช่วยบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบตัวเองแก้ไขความไม่สมบูรณ์ในทันที เพื่อลดปริมาณงานในอนาคตที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง

  จะเห็นว่าประโยชน์หลักของ Jidoka คือ ช่วยป้องกันไม่ให้งานที่มีความผิดพลาดหลุดไปยังกระบวนการต่อไปรวมถึงหลุดไปจนถึงมือลูกค้า

  เพราะถ้าชิ้นส่วนที่ประกอบผิดพลาดในตัวอย่างหลุดเข้าไปเป็นชิ้นส่วนในขั้นตอนต่อไป ก็ยากที่จะตรวจสอบหรือยากที่จะรู้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีความผิดพลาด และสุดท้ายสินค้าที่มีปัญหาก็จะถูกส่งไปถึงมือลูกค้า และเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
 
  ปัญหาที่ตามมาก็จะส่งผลให้ต้นทุกการผลิตสูงขึ้น จาก Reverse Logistics หรือ การส่งสินค้าที่เสียหายกลับมาและต้นทุนในการชดใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความสูญเปล่าตามหลัก 7 Wastes ของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ในส่วนของเครื่องอัตโนมัติที่สามารถตรวจจับความผิดพลาดได้เองโดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์เข้าไปแก้ปัญหายังช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมตลอดเวลา 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim 
ที่มา : https://shorturl.asia/XOH3v

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลังสินค้าที่ดีควรเป็นอย่างไร ?
ในโลกที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในแวดวง E-commerce และการขนส่ง คำว่า "คลังสินค้า" (Warehouse) ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่สถานที่สำหรับเก็บสต็อกสินค้าอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์และเป็นหัวใจสำคัญที่ชี้วัดประสิทธิภาพและความสำเร็จของธุรกิจ
โก้(นักศึกษาฝึกงาน)
19 ก.ค. 2025
พลิกโฉมคลังสินค้าให้เป็น "ขุมทรัพย์": ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า สร้างรายได้งอกเงย
ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นเพียงแค่การลดต้นทุน แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรของคุณ หากคุณกำลังมองหาวิธีการใช้พื้นที่คลังสินค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ บทความนี้มีแนวทางและกลยุทธ์ที่น่าสนใจ
ซาล(นักศึกษาฝึกงาน)
19 ก.ค. 2025
AI ปฏิวัติวงการขนส่ง: เบื้องหลังความเร็วและความแม่นยำในยุคดิจิทัล
AI ปฏิวัติวงการขนส่ง: เบื้องหลังความเร็วและความแม่นยำในยุคดิจิทัล ในโลกที่ทุกอย่างต้องรวดเร็วและแม่นยำ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่งคือหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เคยสงสัยไหมครับว่าบริษัทขนส่งชั้นนำจัดการออเดอร์นับล้านชิ้นต่อวันได้อย่างไร? คำตอบที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นคือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมวงการนี้ไปอย่างสิ้นเชิง
ซาล(นักศึกษาฝึกงาน)
18 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ